Comment
Author: Admin | 2025-04-28
การปลอมแปลง การแก้ไข หรือการทำซ้ำ นอกจากนี้ยังทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าด้วยกระบวนการทำงานของบล็อกเชน ภาพจาก Moneyการทำงานแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) เป็นการพัฒนาให้ระบบการเงินมีความเป็นกลาง และไม่มีผู้ใดเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงิน เพื่อปิดช่องโหว่ของปัญหาที่พบจากระบบการเงินแบบรวมศูนย์ (Centralized) ด้านต่าง ๆ ได้แก่ด้านความปลอดภัย สามารถเกิดกรณีสินทรัพย์สูญหายจากบัญชีได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการถูกแฮก การปลอมแปลงเอกสาร หรือความผิดพลาดของมนุษย์ (Human Error)ด้านระยะเวลา เช่น กรณีการโอนเงินที่ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบค่อนข้างนานหลายวัน เนื่องจากระบบจะต้องนำข้อมูลส่งไปยังศูนย์กลาง จึงเกิดความล่าช้าในการตัดสินใจในขั้นตอนต่าง ๆด้านตัวกลางในการทำธุรกรรมทางการเงิน คือ สถาบันการเงิน หรือธนาคาร หากเกิดวิกฤต หรือล้มละลาย ก็เป็นการยากในการหาตัวผู้รับผิดชอบได้ ด้านค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมทางการเงินที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากจะต้องมีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวกลางทุกครั้งบล็อกเชน (Blockchain) เกี่ยวข้องกับ บิทคอยน์ (Bitcoin) อย่างไร? บล็อกเชน (Blockchain) และบิทคอยน์ (Bitcoin) ไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่มีความสัมพันธ์กัน นั่นคือ บล็อกเชนเป็นระบบที่อยู่เบื้องหลังระบบการทำงานของบิทคอยน์ ซึ่งเป็นระบบการทำงานแบบกระจายอำนาจ (Decentralized) โดยจะมีผู้ตรวจสอบการทำธุรกรรมจากการแก้สมการด้วยระบบ Algorithm ที่ชื่อว่า แฮช SHA-256 ของคอมพิวเตอร์ที่มีแรงขุดมาก หรือที่เราเรียกว่า การขุดบิทคอยน์ (Mining) นั่นเองการขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) คือ อะไร?การ Mining หรือการขุดบิทคอยน์ คือ การที่ผู้ใช้งานยืนยันการทำธุรกรรมร่วมกัน โดยผู้ที่ทำการขุด (Miner) ใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษ เช่น ชิป ASICs (Application Specific Integrated Circuits), การ์ดจอ, โปรแกรมที่ใช้ขุด, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งกำลังไฟฟ้า และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เพื่อแก้สมการทางคณิตศาสตร์ในการตรวจสอบ และยืนยันการทำธุรกรรม โดยจะได้รับรางวัลตอบแทน (Rewards) เป็น Bitcoin จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการ Proof of Work โปรโตคอลที่จะช่วยยืนยันว่าการทำธุรกรรมทางดิจิทัลนั้นถูกต้องหมดเวลาขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) หรือยัง?บิทคอยน์ถูกออกแบบให้มีการแบ่งครึ่ง (Halving) ที่เรียกว่า Bitcoin Halving คือ เหตุการณ์การลดปริมาณรางวัลที่ให้ Reward แก่นักขุดลงมาครึ่งหนึ่งของบล็อก ซึ่งก่อนการ Halving นักขุดจะได้รับ 50 BTC และลดลงมาครึ่งหนึ่งเรื่อย ๆเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นโดยประมาณทุก ๆ 4 ปี ปัจจุบันเกิดการ Halving มาแล้ว 3 ครั้ง (ส่วน Halving Bitcoin ครั้งที่ 4 ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 นักขุดจะได้รับ 3.125 BTC)Halving ครั้งที่ 1 ในปี 2012 นักขุดได้รับ 25 BTCHalving ครั้งที่ 2 ในปี 2016 นักขุดได้รับ 12.5 BTCHalving ครั้งที่ 3 ในปี 2020 นักขุดได้รับ 6.25 BTCกราฟเหตุการณ์ Bitcoin Halving ภาพจาก Cointelegraphมูลค่าของ Bitcoin มาจากไหน?บิทคอยน์ถูกสร้างขึ้นมาอย่างจำกัด คือ มีเพียงแค่ 21 ล้านเหรียญให้หมุนเวียนในระบบเท่านั้น ในปี 2022 Bitcoin ถูกขุดไปแล้วมากกว่า 90% หรือประมาณ 19 ล้านเหรียญ ตามคาดการณ์แล้ว ปี 2140 บิทคอยน์จะถูกขุดขึ้นมาครบทั้งหมดหากพูดตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ในขณะนี้ อุปสงค์ (Demand) มีมากกว่าอุปทาน (Supply) จึงทำให้บิทคอยน์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา รวมทั้งปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวกำหนดมูลค่าด้วย เช่น การแข่งขัน ต้นทุนการผลิต ประกาศ กฎ ระเบียบ และข้อบังคับ เป็นต้นโดยหน่วยของบิทคอยน์ เรียกย่อ ๆ ว่า BTC และสามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยที่มีทศนิยมสูงสุดถึง 8 ตำแหน่ง เรียกว่า “satoshis” ได้อีกด้วยBitcoin สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้จริงหรือไม่?บิทคอยน์สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เช่นเดียวกับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ปัจจุบันมีกลุ่มธุรกิจที่เปิดรับการซื้อขายโดยการใช้สกุลเงินดิจิทัลมากมาย เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, E-Commerce, Super Market, เครื่องประดับ และนาฬิกา, ประกันภัย, วีดิโอเกม, Paypal ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันก็ยังคงไม่มีเครื่องมือใดที่สามารถทำการเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ไปเป็นสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ได้ นอกจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน หรือการเทรด (Trade) บนแพลตฟอร์ม Exchange เท่านั้นถึงแม้ว่าผู้ใช้งานจะสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนบนแพลตฟอร์ม Exchange ได้ด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้แก่ธนาคารกลาง แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า สินทรัพย์ หรือเงินของเราได้ถูกทำการโอนเรียบร้อยแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เราจะเชื่อมั่นในระบบการเงินที่ไม่มีธนาคารกลางได้แค่ไหนกัน?การดำเนินธุรกรรมเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล จะอยู่ภายใต้พื้นฐานเครือข่ายเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งจะมีกระบวนการฉันทมติ (Consensus Algorithm) แบบ POW (Proof of Work) หรือโหนดบนเครือข่ายการตรวจสอบการทำธุรกรรมว่ามีความถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้การดำเนินธุรกรรมมีความโปร่งใส และปลอดภัย
Add Comment